หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้
บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบนได้แก่ ๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น ๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6 ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ 4 ๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง คือ สอนให้รู้จักแยกแยะมิตรแท้ มิตรเทียม ให้คบบัณฑิตเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ ๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ในสิ่งที่สดับเล่าเรียนมาแล้ว เช่น การแสวงหาทรัพย์โดยวิธีสุจริต การรู้จักรักษาทรัพย์ และการดำรงชีวิตตามฐานะ ๖. บอกทางสวรรค์ให้ คือ การแนะนำวิธีครองตน ครองคน ครองงาน หรือวิธีครองชีวิตให้ได้รับผลดีมีความสุข บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อาจทำได้ดังต่อไปนี้ ๑. การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อพระภิกษุประพฤติปฏิบัติชอบตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและบุคคลผู้พบเห็นโดยทั่วไป ๒. การสั่งสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเทศนา ปาฐกถาธรรม หรือเผยแผ่ธรรมทางสื่อมวลชน ๓. การทำกิจกรรมอันเป็นการสงเคราะห์ชาวบ้าน เช่น ช่วยสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นผู้นำชาวบ้านในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่นรักษาป่า ขุดลอกหนองบึง ส่งเสริมอาชีพสุจริต ตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ เป็นต้น ๔. จัดกิจกรรมอันเป็นประเพณีและศาสนพิธีในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน อันจะทำให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่บ้าน ชุมชน สังคม รวมทั้งการถือโอกาสเทศนาธรรมสั่งสอนให้งดเว้นจากอบายมุข ให้ประพฤติดี หลีกหนีความชั่ว ๕. การเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม เช่น ฝึกสมาธิเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงพระพุทธศาสนาจากการปฏิบัติอย่างแท้จริง
การแสดงธรรมและการปาฐกถาธรรม
การแสดงธรรมและการปาฐกถาธรรมของพระภิกษุ สามารถกระทำได้ทั้งภายในวัดและภายนอกวัด การเผยแผ่ภายในวัด เช่น มีการแสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะ มีการบรรยายธรรมหรือพระธรรมเทศนาในวันอาทิตย์ ตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น ส่วนการเผยแผ่ภายนอกวัด เช่น การสนทนาธรรมตามบ้านเรือนประชาชนในโอกาสอันสมควร การบรรยายธรรมหรือการแสดงพระธรรมเทศนาตามที่มีผู้นิมนต์การแสดงธรรมหรือการปาฐกถาธรรมของพระภิกษุ หมายถึง การกล่าวสั่งสอนหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสามารถนำเอาหลักธรรมคำสอนเหล่านี้ไปประพฤติ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสันติสุข พระภิกษุจึงมีหลักการและวิธีการที่
แสดงธรรมดังนี้ ๑. ภิกษุผู้แสดงธรรมจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ๒. แสดงธรรมตามหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ ๓. แสดงธรรมโดยเคารพต่อผู้ฟังธรรม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นชนชั้นใด ไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะ ๔. แสดงธรรมตามหลักองค์ธรรมกถึก คือ ธรรมที่ผู้แสดงธรรมควรตั้งไว้ในใจ ๕ ประการคือ ๔.๑ แสดงธรรมไปตามลำดับ คือแสดงหลักธรรมหรือเนื้อหาวิชาตามลำดับความง่ายยาก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ ๔.๒ ชี้แจง ยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยอธิบายขยายความตามแนวเหตุผล ๔.๓ แสดงธรรมด้วยเมตตา คือ สอนผู้ฟังด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างแท้จริง ๔.๔ ไม่แสดงธรรมด้วยการเห็นแก่อามิส คือ สอนโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน ๔.๕ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักเนื้อหาวิชา มุ่งแสดงธรรม ไม่กล่าวยกย่องตนเองและไม่กล่าวเสียดสี กล่าวข่มผู้อื่น หรือกล่าว“ยกตนข่มท่าน” ๕. แสดงธรรมโดยยึดลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการคือ ๕.๑ ผู้แสดงธรรมต้องมีความรู้อย่างแท้จริง และสามารถถ่ายทอดความรู้ของตนให้กับผู้อื่นรู้แจ้งเห็นจริงตามด้วย ๕.๒ แสดงธรรมด้วยเหตุและผล ไม่กล่าวเลื่อนลอย หรือกล่าวโดยไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน ๕.๓ แสดงธรรมให้เห็นจริง มองเห็นชัดเจนจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติให้ได้ผลจริง ๖. ผู้แสดงธรรมจะต้องประกอบไปด้วยความดี ๓ ประการคือ ไม่มีราคะ (ความกำหนัด) ไม่มีโทสะ (ความคิดประทุษร้าย ) ไม่มีโมหะ (ความหลงผิด) ๗. แสดงธรรมโดยหลักการสอน ๔ วิธีคือ ๑ ) สอนด้วยวิธีละมุนละม่อม ๒ ) สอนด้วยวิธีรุนแรง (สอนโดยการว่ากล่าวตักเตือน) ๓ ) สอนด้วยวิธีละมุนละม่อมและรุนแรง ๔ ) ฆ่าเสีย (สอนโดยไม่ว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนบุคคลนั้นเลย) ๘. เมื่อแสดงธรรมถ้าจะระบุถึงบุคคล จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ๖ประการคือ ๘.๑ เพื่อแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว ๘.๒ เพื่อแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมหนัก เช่น ฆ่าบิดามารดา เป็นต้น) ๘.๓ เพื่อแสดงถึงพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ๘.๔ เพื่อแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณ (เป็นบุพเพสันนิวาส) ๘.๕ เพื่อแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์ของการทำบุญ) ๘.๖ เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลก (สิ่งที่สมมติขึ้น) ๙. การแสดงธรรมตามหลักการแสดงของพระพุทธเจ้า ๒ ประการคือ แสดงธรรมแบบย่อ (เฉพาะหัวข้อ) และแสดงธรรมโดยพิสดาร (แสดงแยกแยะหัวข้อธรรม) ๑๐. ไม่แสดงธรรมในเรื่องราวที่พระภิกษุไม่ควรสนทนากัน เช่น เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องสงคราม เป็นต้น ๑๑. แสดงธรรมในสิ่งที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ฟัง ๑๒. แสดงธรรมและฟังธรรมด้วยความเคารพ
การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างของพระภิกษุ
พระภิกษุต้องหมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลักปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ) ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. พระภิกษุมีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้ ๒. ความเป็นอยู่ของพระภิกษุต้องพึ่งพิงผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา ๓. พระภิกษุมีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้ ๔. พระภิกษุติเตียนตัวเองได้โดยศีล ๕. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนติเตียนได้โดยศีล ๖. พระภิกษุจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น ๗. พระภิกษุมีกรรมเป็นของตน หากทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตามจักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น ๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้พระภิกษุทำอะไรอยู่ (ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่) ๙. พระภิกษุยินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่พระภิกษุบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง พุทธศาสนิกชนสามารถนำข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุทั้งสิบประการดังกล่าวมา นำเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติในชีวิต ประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเจริญแก่ผู้ประพฤติปฏิบัตินั้น
การเป็นลูกที่ดี ตามหลักทิศเบื้องหน้า ในทิศ 6
พ่อแม่ท่านจัดว่า เป็นทิศเบื้องหน้าของลูก ก็โดยฐานที่พ่อแม่ เป็นผู้ให้กำเนิด และบำรุงเลี้ยงพิทักษ์รักษามาก่อน นับได้ว่า เป็นเจ้าของชีวิตของพ่อแม่ก็ได้ เพราะเหตุว่า นับแต่ลูกอยู่ในครรภ์ จนถึงคลอดมาทุกระยะของวัย ลูกยังไม่รู้จักคุ้มครองรักษาตัวเองได้ ชีวิตยังตกอยู่ในความคุ้มครองของพ่อแม่อยู่ จนตราบนั้น รวมความว่า พ่อแม่มีอุปการคุณแก่ลูก ๒ ประการคือ เป็นผู้ให้กำเนิด และเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ดังนั้นในฐานะที่เป็นลูกที่ดี พึงปฏิบัติต่อ พ่อแม่ ผู้เปรียบเหมือน ทิศเบื้องหน้า ดังนี้
๑. ท่านเลี้ยงเรามา เลี้ยงท่านตอบ การเลี้ยงดูพ่อแม่ หมายถึงการเลี้ยง ๒ อย่างคือ การเลี้ยงให้ท่านมีความสุขกาย เช่น แบ่งปันสิ่งของให้ตามอัตภาพ ให้การดูแลเอาใจใส่เลี้ยงดูท่านและยามเจ็บไข้ได้ป่วย คอยปรนนิบัติเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และการเลี้ยงให้ท่านสุขใจ เช่น การเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน การประพฤติตนเป็นคนดี การพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า เป็นต้น ๒. ช่วยทำกิจธุระการงานให้ท่าน หมายถึง ให้ลูกถือว่า งานการทุกอย่างของพ่อแม่ เหมือนกับการงานของตน เมื่อท่านมอบหมายให้ทำ ก็มีความเต็มใจทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เมื่อช่วยงานท่าน ก็ตั้งใจทำจริงเต็มความรู้ความสามารถ ด้วยความสมัครใจ ไม่อ้างหรือหลีกเลี่ยงหนีงานที่ท่านมอบหมาย เป็นต้น ๓ .ดำรงวงศ์สกุลของท่าน หมายถึง การรักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล หรือสร้างวงศ์ตระกูลให้รุ่งเรือง ให้เจริญก้าวหน้า ไม่สร้างความเดือนร้อน หรือความด่างพร้อยมาสู่วงศ์ตระกูล เป็นต้น นอกจากนั้น การรักษาเครือญาติไว้อย่างมั่นคง มีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันระหว่างเครือญาติ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สงบ เป็นต้น ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นทายาท หมายถึงการปฏิบัติให้เป็นผู้สมควรได้รับทรัพย์มรดก นั่นคือ การประพฤติตนเป็นคนดี โดยเว้นจากอบายมุขซึ่งเป็นหนทางแห่งความเสื่อมทั้งหลาย มีความเพียรตั้งหน้าทำมาหากิจโดยชอบธรรม ไม่ประพฤติชั่วทั้งกาย วาจาและใจ เป็นต้นนอกจากนั้นยังรู้จักการทำมาหากินเพิ่มพูนทรัพย์สิน และรักษาทรัพย์สินที่มีอยู่ เช่น รู้จักการประหยัดอดออม มีความสันโดษ พ่อแม่ก็มีความอิ่มเอมใจและเต็มใจที่จะยกทรัพย์สมบัติให้ ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว อุทิศส่วนกุศลให้ท่าน เป็นกิจที่ลูกจะต้องปฏิบัติ เป็นส่วนของการให้ทานในสิ่งที่สมควรกระทำแก่พ่อแม่ผู้ล่วงลับไปแล้ว บุญที่จะพึงประกอบก็คือ ท่านที่บริจาคแก่บุคคลผู้ควรได้รับ เช่น พระภิกษุสามเณร และผู้ทรงศีล ตลอดถึงคนอนาถา คนชรา คนพิการและทานที่เป็นส่วนสงเคราะห์แก่คนทั่ว ๆ ไป เช่น การก่อสร้างสาธารณสถาน ศาสนสถาน เป็นต้น และกุศลที่เกิดจากการปฏิบัติ เช่น การรักษาศีลการเข้าวัดบวชเรียน เป็นต้น เหล่านี้เป็นบุญที่ควรอุทิศทั้งสิ้น การทำบุญอุทิศนี้ จุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อไม่ให้ลูกหลานลืมพ่อแม่ เมื่อล่วงลับไปแล้ว
มารยาทชาวพุทธ
การต้อนรับ (ปฏิสันถาร)
มรรยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย มรรยาทชาวพุทธ จึงหมายถึง กิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อยที่พุทธศาสนิกชน
มรรยาทของผู้เป็นแขก พุทธศาสนิกชนผู้ประสงค์จะไปหาพระสงฆ์ที่วัด พึงรักษากิริยามารยาททางกาย ทางวาจา ตลอดถึงจิตใจให้เรียบร้อย เป็นการแสดงถึงความมีศรัทธาเลื่อมใสการไปหาพระสงฆ์เพื่อนิมนต์ท่านไปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีใดก็ตาม นิยมมีเครื่องสักการบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น ไปถวายเพื่อแสดงความเคารพบูชาท่านด้วย นิยมแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่นิยมแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์สีฉูดฉาดบาดตา ก่อนเข้าพบท่าน นิยมไต่ถามพระภิกษุสามเณรหรือศิษย์วัดว่า ท่านอยู่หรือไม่ ท่านว่างหรือไม่ว่าง สมควรจะเข้าพบท่านหรือไม่ ถ้าท่านอยู่และสมควรเข้าพบ แจ้งความจำนงขออนุญาตเข้าพบก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงเข้าพบถ้าไม่พบใครพอไต่ถามได้ รอดูจังหวะอันสมควร กระแอม หรือเคาะประตูให้เสียงก่อนเพื่อให้ท่านทราบ เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงนิยมเปิดประตูเข้าไปเฉพาะผู้ชาย ส่วนผู้หญิงไม่ต้องเข้าไปหาพระสงฆ์ในห้อง เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าไปหาคุกเข่ากราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ ไม่นั่งบนอาสนะเสมอกับพระสงฆ์เมื่อสนทนากับพระสงฆ์ หากท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ นิยมประนมมือพูดกับท่านและรับคำพูดของท่าน ไม่นิยมพูดล้อเล่น พูดคำหยาบกับท่าน ไม่เอาเรื่องส่วนตัวไปเล่าให้ท่านฟัง ไม่ยกตนเสมอท่านคล้ายเพื่อนเล่นเมื่อเสร็จธุระแล้ว รีบลาท่านกลับ ก่อนกลับ นั่งคุกเข่ากราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วเดินเข่าออกไปควรปฏิบัติ ที่สำคัญได้แก ่ ๑. มรรยาททางกาย เช่นการกิน พระพุทธศาสนาสอนให้บริโภคอาหารด้วยการสุภาพเรียบร้อยไม่กินอย่างมูมมาม เคียวข้าวด้วยอาการสำรวม ไม่อ้าปากเคี้ยวข้าว แต่ปิดปากเคี้ยวด้วยความสำรวม เคี้ยวช้า ๆ ให้แหลกเสียก่อนแล้วจึงกลืน เป็นต้น การแต่งกาย เครื่องนุ่งห่มควรจะเหมาะสมแก่ภูมิประเทศและตัวผู้ใช้ มุ่งเอาความเรียบร้อย เหมาะสมแก่กาลเทศะและสภาพสังคมเครื่องนุ่งห่มต้องสะอาดไม่เหม็นสาบการฟัง ฟังด้วยความเคารพ ควรถามบ้างเมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถามไม่แสดงกิริยาอาการอันส่อความไม่สุภาพการฟังพระธรรมเทศนาต้องเคารพต่อพระธรรมและเคารพต่อผู้แสดงธรรมไม่คุยกันในขณะฟังธรรมควรประนมมือซึ่งเป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพต่อพระธรรมและผู้แสดงธรรมการแสดงความเคารพ ได้แก่ ๑) การยืน การยืนเพื่อแสดงความเคารพ ใช้ในโอกาสเมื่อถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และพระมเหสี เมื่อเชิญธงชาติขึ้นและลงจากเสา เมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี และกรณีอื่น ๆ ที่ต้องแสดงความเคารพด้ายการยืน ๒) การประนมมือ คือการยกมือทั้งสองขึ้นกระพุ่มตั้งไว้ระหว่างอก ให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างประกบชิดกันในลักษณะตั้งขึ้นข้างบน อย่าให้นิ้วมือก่ายกันและหักชี้ลงข้างล่าง ๓) การไหว้ คือ การทำความเคารพโดยยกกระพุ่มมือที่ประนมขึ้นไว้ ณ ส่วนบนของร่างกายตามความเหมาะสม ได้แก่ การไหว้พระรัตนตรัย การไหว้บิดามารดาครูอาจารย์ การไหว้บุคคลที่ควรเคารพทั่วไป และการไหว้บุคคลที่เสมอกันการไหว้แต่ละอย่างควรทำให้ถูกต้องตามแบบอย่างการไหว้ ๔) การกราบ คือ การแสดงความเคารพด้วยวิธีประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้น หรือการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๒.มรรยาททางวาจา ชาวพุทธที่ดี ควรมีวาจาสุภาพอ่อนโยน เว้น วจีทุจริต 4 ประการ ได้แก่ พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อ ประพฤติวจีทุจริต 4 ประการ ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด และไม่พูดเพ้อเจ้อ ควรสำรวมระวังรักษากิริยาในการวาจา ไม่เอะอะตะโกนเสียงดัง ไม่พูดจาก่อความรำคาญหรือความเคียดแค้นชิงชังต่อกันและกันการต้อนรับ (ปฏิสันถาร) ๑. การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มาถึงสถานที่ประกอบพิธีต่าง ๆ คฤหัสถ์ชายหญิงซึ่งนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้านั่งเก้าอี้ ลุกขึ้นยืนรับ เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาตรงหน้า น้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อพระสงฆ์นั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามเดิม เมื่อนั่งกับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านถึงเฉพาะหน้านิยมยกมือไหว้หรือกราบตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น ๒. การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มาในงานพิธีนั้น ถ้าสถานที่นั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ คฤหัสถ์ชายหญิงนิยมลุกขึ้นหลีกไป ให้โอกาสพระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า ถ้าคฤหัสถ์ชายจำเป็นต้องนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งเก้าอี้ด้านซ้ายของพระสงฆ์ หากเป็นหญิงไม่นิยมนั่งเก้าอี้เดียวกัน เว้นแต่สุภาพบุรุษนั่งคั่นในระหว่าง ถ้าสถานที่นั้นจัดให้นั่งกับพื้นนิยมจัดอาสนะสงฆ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก ๓. การตามส่งพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์กลับจากพิธี คฤหัสถ์ชายหญิงที่อยู่ในพิธีนั้น หากนั่งเก้าอี้นิยมลุกขึ้นเมื่อพระสงฆ์เดินผ่านและน้อมตัวลงพร้อมทั้งยกมือไหว้ หากนั่งอยู่กับพื้น ไม่ต้องยืนส่งเมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงให้กราบหรือยกมือไหว้ตามแต่กรณี สำหรับเจ้าภาพควรเดินตามและส่งท่านจนพ้นบริเวณงาน และน้อมตัวลงยกมือไหว้แสดงความเคารพ ๔. การหลีกทางให้พระสงฆ์ หากพระสงฆ์เดินมาข้างหลัง คฤหัสถ์ชายหญิงที่กำลังเดิน ควรหลีกทางชิด ข้างซ้ายมือพระสงฆ์ แล้วยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามาทางท่าน เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้าให้น้อมตัวยกมือไหว้ เมื่อยกมือไหว้ลดมือทั้งสองลงประสานกันไว้ข้างหน้า จนกว่าท่านจะเลยไป จึงเดินตามหลัง - ถ้าเดินสวนทางกับพระสงฆ์ให้หลีกเข้าชิดข้างด้านซ้ายมือพระสงฆ์ แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับการปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์เดินมาข้างหลัง - ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่ ให้หยุดยืนตรง น้อมตัวลงยกมือไหว้ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือพูดกับท่านแล้วเดินหลีกไปทางซ้าย - ถ้าพบพระสงฆ์นั่งอยู่ ให้หยุดลง ถ้าพื้นสะอาดนิยมนั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ ถ้าพื้นไม่สะอาด นิยมนั่งกระหย่ง น้อมตัวลงยกมือไหว้ - ถ้าท่านพูดด้วย ประนมมือพูดกับท่าน ถ้าท่านมิได้พูดด้วยให้ลุกเดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์ ถ้าพระสงฆ์อยู่ในที่กลางแจ้ง มีเงาปรากฏอยู่ คฤหัสถ์ชายหญิงไม่เดินเหยียบเงาของพระสงฆ์ ไห้เดินหลีกไปเสียอีกทางหนึ่งการเดินตามหลังพระสงฆ์ให้เดินไปตามหลังของพระสงฆ์ โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่าน เว้นระยะห่างประมาณ 2-3 ก้าวเดินตามท่านไปด้วยกิริยาอาการสำรวมเรียบร้อย การแต่งกายไปวัด การแต่งกายไปงานมงคล งานอวมงคล ๑. การแต่งกายไปวัด ชาวพุทธที่ดีจะไปวัดเพื่อประกอบพิธีทำบุญหรือไปในกรณียกิจใด ๆ ก็ตาม จักต้องปฏิบัติตนต่อวัดด้วยความสุภาพและความเคารพ การปฏิบัติตนอย่างไม่สมควรและอย่างไม่มีมรรยาทในเขตวัด ไม่เป็นการก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเองและยังมีผลกระทบไปถึงพระพุทธศาสนาด้วย ดังนั้นการแต่งกายไปวัดควรแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย สีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาดจนเกินควร ไม่ควรแต่งกายให้หรูหราล้ำสมัยจนเกินไป สตรีไม่ควรแต่งกายแบบวับ ๆ แวม ๆ หรือใส่เสื้อบางจนเห็นเสื้อชั้นใน กระโปรงไม่ควรสั้นจนเกินไป หรือผ่าหน้าผ่าหลังเพื่อเปิดเผยร่างกาย เครื่องประดับก็ใส่พอควร เพราะวัดควรเป็นที่ที่เราไปเพื่อจะขัดเกลากิเลสมากกว่า ๒. การแต่งกายไปในงานมงคล ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าภาพ บางทีตัวเราเองอยากแต่งตัวง่าย ๆ แต่ก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเจ้าของงานด้วย นอกจากนี้ ในบัตรเชิญอาจมีการกำหนดให้แต่งกายอย่างไร ก็ควรแต่งกายตามนั้นควรไปถึงงานตรงตามเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อยควรไปพบเจ้าของงานก่อนและถ้ามีของขวัญจะให้ก็มอบเลยแล้วนั่งในที่ที่เหมาะสมตามอาวุโสของตน ไม่ควรคำนึงเรื่องที่ไม่เป็นมงคลมาสนทนาในงานนั้น หากเป็นงานที่มีการอวยพร ในขณะที่มีผู้กล่าวคำอวยพร ควรสงบนิ่งฟัง ไม่ควรคุยกัน ไม่ควรเดินไปเดินมาไม่ควรรับประทานอาหารต่อในขณะนั้น เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติเจ้าของงานและผู้กล่าวคำอวยพรและหากเมื่อจะกลับควรหาโอกาสลาเจ้าของงานก่อน ๓. การแต่งกายไปงานอวมงคล ควรแต่งตัวตามประเพณีนิยม ชายแต่งสากลนิยมสีเข้ม เนคไทสีดำ รองเท้าดำ หากเป็นงานศพควรสวมปลอดแขนทุกข์ที่แขนเสื้อข้างซ้ายเหนือศอก หรือแต่งกายชุดไทยพระราชทานสีดำทั้งชุด หรือเสื้อสีขาวกางเกงสีดำหรือสีเข้มหญิงนุ่งผ้าซิ่นหรือกระโปรงตามสมัยนิยม เสื้อแบบเรียบ รองเท้าหุ้มส้นสีดำ หรือแต่งกายให้สุภาพ ไม่ใช้เสื้อผ้าและรองเท้าสีฉูดฉาด ไม่สมควรพูดคุยหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน เพราะไม่ใช่งานแสดงความยินดี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น